บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการบริหารงานภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มมูลค่า และผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ ภารกิจ พันธกิจ ของบริษัท
บริษัทฯ มุ่งเน้นประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการพยายามเข้าไปมีบทบาทในผู้มีส่วนได้เสีย การประเมินประเด็นที่สำคัญของบริษัทฯ ผนวกความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปในทุกกระบวนการทางธุรกิจจนพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของขีดความสามารถขององค์กร คำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทั้งทางตรงและทางอ้อมของบริษัท ซึ่งขั้นตอนการประเมินประเด็นที่สำคัญนั้นสอดคล้องกับหลักการของ GRI ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1. การระบุผู้มีส่วนได้เสีย 2.การระบุประเด็นระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้เสีย 3. การจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียและประเด็น 4.การคัดเลือกประเด็นและนำเสนอ
หลักการดำเนินธุรกิจของ APURE
วิสัยทัศน์
บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมเกษตร โดยมุ่งเน้นที่จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงและการบริการที่ดีเยี่ยมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ภารกิจ
- ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาขั้นตอนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและสามารถลดต้นทุนการผลิต รวมถึงการหาแหล่งวัตถุดิบคุณภาพเยี่ยมเพื่อนำเสนอต่อลูกค้า
- มุ่งมั่นให้บริการกับลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม โดยใช้หลักความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เพื่อให้เกิดความพึงพอใจของพนักงานและเกิดการช่วยเหลือให้กับทุกสังคม
พันธกิจ
- นำเสนอสินค้าและบริการคุณภาพดี
- ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าในด้านของคุณภาพ การขนส่งและการติดต่อสื่อสาร
- ยึดหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
หลักการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
- การระบุผู้มีส่วนได้เสีย พิจารณาจากผู้ที่สร้างผลกระทบและ/หรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำในห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้เกิดการสร้างผลกระทบในเชิงบวก และลดผลกระทบในเชิงลบ ได้ต่อไป
- การระบุประเด็นระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้เสีย วิเคราะห์ประเด็นที่เป็นผลกระทบ ระหว่างกัน และประเด็นที่องค์กรต้องรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกระบวนการธุรกิจ
- การจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียและประเด็น
การจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย : การจัดระดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมด ซึ่งจะคำนึงถึงอำนาจ/อิทธิพล และความสนใจ/ผลประโยชน์ระหว่างกัน
การจัดลำดับความสำคัญของประเด็นของผู้มีส่วนได้เสีย : การประเมินความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมด ซึ่งจะคำนึงถึงสองปัจจัย คือ โอกาสและผลกระทบต่อองค์กร และระดับความสนใจและผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การคัดเลือกประเด็นและนำเสนอ พิจารณาคัดเลือกประเด็นด้านความยั่งยืนร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยประเด็นที่คัดเลือกมานั้นมีความสอดคล้องกับบริบท ความเสี่ยง กลยุทธ์ และการบริหารจัดการความยั่งยืนขององค์กร อีกทั้งยังคำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย